การจำแนกคู่อิแนนทิโอเมอร์สามารถทำได้อาศัยเทคนิคทิปเอนฮานซ์รามานสแกตเตอริง (tip–enhanced Raman scattering) ร่วมกับการปรับแต่งพื้นผิวของทิปด้วยโมเลกุลตรวจวัดที่ไม่มีไครัล คือ พารา–เมอร์แคปโตพิริดีน (para–mercaptopyridine) เทคนิคนี้สามารถตรวจวัดความเข้มของสัญญานรามานที่แตกต่างกันได้เมื่อ 3 คู่อิแนนทิโอเมอร์ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล และ/หรือ หมู่อะมิโน เกิดอันตรกิริยาเชิงโมเลกุลกับโมเลกุลตรวจวัดที่อยู่บนพื้นผิวของทิป กลไกการจำแนกคู่อิแนนทิโอเมอร์นี้เกิดขึ้นโดยอาศัยสนามไฟฟ้าที่ไม่สมมาตรที่ปลายทิป ร่วมกับการวางตัวของโมเลกุล ที่เกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลตรวจวัดที่อยู่บนพื้นผิวของทิปและหมู่ฟังก์ชันของอิแนนทิโอเมอร์
- Prompong Pienpinijtham
- Thanyada Sukmanee
- Kanet Wongravee
- Sanong Ekgasit
- Tamitake Itoh
- Yukihiro Ozaki