แก๊สโครมาโตกราฟีแบบสองมิติอย่างทั่วถึง (GC×GC) เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ในการแยกสารเคมีระเหยง่ายในตัวอย่างที่ซับซ้อน เช่น ปิโตรเคมี น้ำมันหอมระเหย อาหาร หรือทางชีวภาพ เทคนิคนี้ช่วยเพิ่มความสามารถในการแยกสารเมื่อเปรียบเทียบกับที่ได้จากแก๊สโครมาโตกราฟีแบบหนึ่งมิติ (GC) โดยในงานวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยนำโดย ผศ.ดร.ชฎิล กุลสิงห์ และ ดร.ณัฐนี ตั้งกิจอนันต์สิน (Postdoctoral researcher) ได้พัฒนาเทคนิค SNAT ที่ทำการดักจับสารแบบเทียมโดยไม่ต้องใช้น้ำแข็ง ซึ่งใช้คอลัมน์สำหรับการแยกสารทั้งแบบกึ่งมีขั้ว และแบบมีขั้ว ท่อสำหรับปรับสมดุลของการไหลในระบบและดีนสวิตช์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับควบคุมการจับและส่งสารจากระบบโดยใช้การส่งผ่านสารแบบฮาร์ตคัตอย่างทั่วถึง โดยอุปกรณ์ที่จำเป็นจะเป็นตัวแยกแบบหลายตัวระหว่างทางออกของคอลัมน์แรกและดีนสวิตช์ ซึ่งใช้ในกระบวนการดักจับแบบเทียม ซึ่งประกอบด้วยการแยกพีคของสารอย่างเป็นระบบ การหน่วงเวลาหลังแยก การซ้อนทับกันของพีก และการฮาร์ตคัตเลือกกลุ่มสาร โดยเวลาที่ใช้ในการดักจับสารตัวอย่างและระยะเวลาในการแยกในคอลัมน์ที่สอง สามารถปรับได้ด้วยจำนวนตัวแยกที่แตกต่างกัน เทคนิคแนวทางที่พัฒนาขึ้นมานี้มีความคุ้มค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้สามารถดักจับสารประกอบที่ระเหยง่ายและยากได้ภายในการฉีดครั้งเดียวโดยไม่ต้องใช้ระบบน้ำแข็งในการดักจับสาร และยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถสูงสุดในการแยกพีคของสารในระบบแก๊สโครมาโตกราฟีแบบสองมิติ ซึ่งไม่สามารถทำได้ด้วยเทคโนโลยีทั่วไป สิ่งนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อระบุสารประกอบในตัวอย่างต่างๆ เช่น น้ำมัน ที่ได้ทำการสกัดแปรรูปจากยางที่ใช้แล้ว ซึ่งการประยุกต์ใช้ดังกล่าวไม่สามารถทำได้จากการวิเคราะห์ GC แบบหนึ่งมิติทั่วไปที่มีความสามารถในการแยกไม่เพียงพอ
- Nuttanee Tungkijanansin
- Yada Nolvachai
- Puttaruksa Varanusupakul
- Napida Hinchiranan
- Chadin Kulsing
- Philip J. Marriott