CST Distinguished Chemist Award 2020 (Organic Chemistry)
จากสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของ ศาสตราจารย์ ดร สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนฯ
ตลอดเวลา 12 ปีที่ผ่านมา กลุ่มวิจัยของ ศ.ดร.สัมฤทธิ์ วัชรสินธุ์ ได้พยายามเสาะหาและพัฒนาวิธีการทางเคมีใหม่ๆ เพื่อใช้ในการเตรียมสารประกอบอินทรีย์ต่างๆ ผ่านวิธีที่ทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยังคงประสิทธิภาพที่ดี โดยยึดถือหลักการของเคมีกรีน (green chemistry) เป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งงานวิจัยหลักในกลุ่มมีดังต่อไปนี้
1. การใช้แคลเซียมคาร์ไบด์เป็นวัตถุดิบ: กลุ่มวิจัยของเราได้ทดแทนการใช้แก๊สอะเซทิลีนที่ไวไฟเป็นวัตถุดิบเคมีตั้งต้น ด้วยการใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ที่เป็นของแข็งในปฏิกิริยาการเตรียมอนุพันธ์อะเซทิลีนชนิดต่าง ๆ โดยปฏิกิริยาที่เราใช้นั้นนอกจากมีความปลอดภัยมากกว่ากระบวนการเดิมแล้วและยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย
2. การประยุกต์ใช้แคลเซียมคาร์บอเนตจากธรรมชาติในฐานะวัสดุรองรับตัวเร่ง: กลุ่มวิจัยของเราสามารถสร้างวัสดุรองรับตัวเร่งชนิดใหม่จากของเสียหอยแมลงภู่ที่มีความปลอดภัยสูงและราคาไม่แพง และนำมาตรึงตรึงด้วยอนุภาคแพลเลเดียมในระดับนาโนเพื่อใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์สำหรับปฏิกิริยาควบคู่ ตัวเร่งปฏิกิริยาของเรานั้นนอกจากให้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ยังสามารถใช้งานซ้ำได้มากอีกด้วย
3. ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงไฟฟ้าและเชิงแสง: กลุ่มวิจัยของเราค้นพบกระบวนการออกซิเดชันเชิงไฟฟ้าและเชิงแสงแบบใหม่เพื่อใช้ในการสร้างพันธะ C-N เพื่อและใช้มันในการสร้างการสร้างสารประกอบเฮเทอโรไซคลิกที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบต่างๆ
ปัจจุบันกลุ่มวิจัยของศ.ดร.สัมฤทธิ์ วัชรสินธุ์ กำลังค้นหาหนทางประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเคมีเหล่านี้ในการสังเคราะห์สารประกอบที่มีประโยชน์ทางยาอื่น ๆ และสารเคมีที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น