ปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นหนึ่งในปฏิกิริยาเคมีพื้นฐานที่ใช้ในวงทั้งการอุตสาหกรรมและในห้องปฏิบัติการเรียนการสอน แต่มักเป็นปฏิกิริยาที่สร้างของเสียและมีค่าใช้จ่ายสูงจากการใช้ตัวออกซิไดส์เคมี หนึ่งในตัวออกซิไดส์ที่นิยมใช้ในการสร้างพันธะระหว่างคาร์บอนและไนโตรเจน คือ ไอโอดีน แม้ว่าจะเป็นปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ก็ต้องใช้สารที่มีขนาดตามปริมาณสารสัมพันธ์ ในทศวรรษล่าสุด การสังเคราะห์สารด้วยปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าจัดว่าเป็นวิธีที่มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการสังเคราะห์สารระดับโมเลกุล ท่ามกลางปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าหลายรูปแบบ การใช้ประโยชน์จากผลิตไอโอดีนจากสารอนุพันธ์ไอโอดีนด้วยปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าได้รับความสนใจอย่างมากด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ 1) ไอโอดีนเป็นตัวออกซิไดส์ที่มีประสิทธิภาพ 2) การนำกลับมาใช้ใหม่ สามารถใช้อนุพันธ์ของไอโอดีนตั้งต้นที่ไม่เป็นพิษในปริมาณเพียงเล็กน้อย และ 3) อนุพันธ์ของไอโอดีนสามารถทำหน้าที่เป็นอิเล็กโทรไลต์และตัวเร่งปฏิกิริยา โดยตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.สัมฤทธิ์ วัชรสินธุ์ได้ใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าสำหรับการผลิตไอโอดีนจากสารอนุพันธ์ของไอโอดีนเพื่อใช้เตรียมสารประกอบที่สารประกอบเฮทเทอโรไซคลิกต่างๆเช่น เอไมด์ 2-อะมิโนเบนซอกซาโซล ฟลาโวน กัวนิดีน และ 2-อะมิโนเบนซิมิดาโซล
- Thao Nguyen Thanh Huynh
- Khuyen Thu Nguyen
- Mongkol Sukwattanasinitt
- Sumrit Wacharasindhu