นาโนพลาสติกมีความสามารถในการเป็นตัวพาและตัวดูดซับสารอันตราย เช่น สารเคมีที่ตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์ที่มีพิษ รวมไปถึงโลหะหนัก ในบางครั้งนาโนพลาสติกอันตรายเหล่านี้อาจถูกกลืนกินโดยสิ่งมีชีวิตในน้ำและเกิดการสะสมในห่วงโซ่อาหาร สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศทางน้ำและก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพผ่านการบริโภคน้ำและอาหารทะเล ความท้าทายหลักในการหาปริมาณนาโนพลาสติกโดยใช้เทคนิคเซอร์เฟซเอนฮานซ์รามานสแกตเทอริง (surface-enhanced Raman scattering, SERS) คือขนาดที่แตกต่างกันของนาโนพลาสติกสามารถส่งผลต่อสัญญาณที่วัดได้ ทำให้สัญญาณ SERS ที่เกิดขึ้นไม่สัมพันธ์กับความเข้มข้นแต่สัมพันธ์กับขนาดของนาโนพลาสติกแทน จึงทำให้ไม่สามารถใช้เทคนิค SERS ในการหาปริมาณนาโนพลาสติกในระบบนิเวศทางน้ำได้ อย่างไรก็ตาม การใช้โปรโตคอลที่คิดค้นขึ้นสามารถกำจัดผลที่เกิดจากนาโนพลาสติกที่มีขนาดแตกต่างกัน จึงทำให้สามารถหาความเข้มข้นของนาโนพลาสติกได้ นอกจากนี้ ปรากฏการณ์ coffee-ring effect ยังสามารถทำให้ตรวจวัดสัญญาณ SERS ของนาโนพลาสติกได้ที่ความเข้มข้นต่ำ ดังนั้นจึงสามารถตรวจวัดปริมาณพลาสติกได้อย่างรวดเร็วเพื่อบ่งชี้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นได้
- Prompong Pienpinijtham]
- Boonphop Chaisrikhwun