Home Slide
ภาควิชาเคมี

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Home Slide
previous arrowprevious arrow
next arrownext arrow

Know more about us

สำหรับผู้ที่สนใจหลักสูตรโท เอก ของภาควิชาเคมี จุฬาฯ สามารถรับชมการถ่ายทอดสดย้อนหลังของกิจกรรม Active Recruitment 2024 ซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับสองหลักสูตร ได้แก่
Schomburginones A‒J, geranylated benzophenones from the leaves of Garcinia schomburgkiana and their cytotoxic and anti-inflammatory activities
การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญยิ่งในการค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีโอกาสพัฒนาเป็นยารักษาโรค คณะผู้วิจัยนำโดย ผศ.ดร.วรินทร ชวศิริ รศ.ดร.สันติ ทิพยางค์ ดร.ชณัท อ้นบางเขน และ Postdoctoral fellow, Dr. Edwin R. Sukandar ได้แยกสารจากใบมะดัน (Garcinia schomburgkiana) และค้นพบสารใหม่ 10 ตัว ให้ชื่อว่า Schomburginones A− J เป็นสารในกลุ่ม benzophenones พร้อมกับอนุพันธ์ 14 ตัว ได้วิเคราะห์โครงสร้างด้วยเทคนิค NMR spectroscopy และ Mass spectrometry ศึกษา absolute configurations ด้วยเทคนิค ECD ร่วมกับ single-crystal X-ray diffraction ได้ทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ 3 ชนิด คือ HepG2 (เซลล์มะเร็งตับ) A549 (เซลล์มะเร็งปอด) และ HeLa (เซลล์มะเร็งปากมดลูก) พบว่าสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งปากมดลูกได้ดีที่สุด ด้วยค่า IC50 ในช่วง 12.2–15.7 μM และมีความจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งมากกว่าเซลล์ปกติ >3.5 เท่า นอกจากนี้ ได้นำสาร 4 ตัวไปทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพเพิ่มเติมเพื่อดูสมบัติต้านการอักเสบในเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิด RAW 264.7 macrophage cells พบว่า มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารไนตริกออกไซด์ (NO) ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการอักเสบ (inflammation) ได้ถึง 85%
การศึกษานี้ถือเป็นต้นแบบสำคัญของการใช้องค์ความรู้ทางเคมีอินทรีย์ มาศึกษาวิจัยเชิงลึกเพื่อค้นหาสารสำคัญจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาสมุนไพรไทยเพื่อเป็นยา เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ และไม่มีผลข้างเคียง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการสร้างความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยให้มีผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งในประเทศและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี